เวนดิ้ง พลัส ทุ่ม 600 ล้าน ปูพรม 6,000 ตู้ พร้อมดึงการ์ตูนดัง “โดราเอมอน” สร้างสีสัน ปลุกตลาดเวนดิ้งแมชชีน

เวนดิ้ง พลัส ทุ่ม 600 ล้าน ปูพรม 6,000 ตู้ พร้อมดึงการ์ตูนดัง “โดราเอมอน” สร้างสีสัน ปลุกตลาดเวนดิ้งแมชชีน

นายวิรัช มรกตกาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวนดิ้ง พลัส จำกัด ในเครือกลุ่มบริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า คาดว่าภายในปีนี้จะสามารถขยายการติดตั้งตู้เพิ่มเติมได้ถึง 12,000 ตู้ จากเดิม 6,000 ตู้ ครอบคลุมการจำหน่ายสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งในรูปแบบของบริษัทผลิตเอง อาทิ น้ำดื่ม ขนมขบเคี้ยว บะหมี่สำเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภค หน้ากากอนามัย ชุดชั้นใน และ ซีดีเพลง

รวมถึงสินค้าที่เกิดจากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เช่นหน้ากากผ้า ชุดชั้นในจากซาบีน่า, หน้ากาก กระเป๋าผ้าจากนารายา, หน้ากากลิขสิทธิ์ไลน์จาก Kireo, สินค้า gadget จาก Rizz, MP3 CD เพลงจากGMM หรือ เสื้อโปโลจากแบรนด์ FU เราก็ยังคงเปิดรับสินค้าใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยตอนนี้เราเริ่มจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอางแบบซองแล้ว อย่างเช่น Smooto, Morika และ Jula’s herb

โดยในปีนี้ บริษัทมีแผนที่ออกสินค้าลิขสิทธิ์ เพื่อเพิ่มสีสันของสินค้าของเวนดิ้งพลัส สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวการ์ตูนลิขสิทธิ์แรกของคือ “โดราเอมอน” 40 ลายสำหรับเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ตั้งเป้า4ล้านขวดภายในปี2564 นอกจากจำหน่ายผ่านตู้ของเวนดิ้งพลัสแล้ว ยังมีแผนที่จะนำเข้าไปวางจำหน่ายในช่องทาง E-commerce และMarket place ชั้นนำ และในอนาคตอันใกล้จะมีสินค้าลิขสิทธิ์ตัวคาแรกเตอร์เข้ามาเพิ่มอีก 2 คาแรคเตอร์

นอกจากนี้บริษัทยังมีเป้าหมายรุกตลาดใหม่ๆ เข้าเสริมพอร์ตธุรกิจให้หลากหลายอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น Sabuy Money บริการ E-Wallet ใน Ecosystem ของเวนดิ้งพลัส หรือ Sabuy Exchange ที่เข้ามาช่วยเสริมเรื่องของ Loyalty Program ในกลุ่มร้านค้าปลีก ซึ่งมีจุดเด่นที่ต่างจากคู่แข่งในตลาดคือ ระบบสะสมแต้มที่ลูกค้าสามารถนำแต้มของพันธมิตรมาใช้ร่วมกันได้

รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการทำงานกับพาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น รวมถึงการขยายไปหา พาร์ทเนอร์ใหม่ๆ โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดที่ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เป็นทางออกให้กับอีกหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กในการขยายช่องทางจำหน่ายและเพิ่มการเข้าถึงของผู้บริโภค คาดว่าภายในปีนี้จะสามารถขยายความร่วมมือได้ราวๆ10 โปรเจ็ค

“ปีนี้บริษัทใช้งบลงทุนราว 600 ล้านบาท แบ่งเป็น งบลงทุนติดตั้งตู้เวนดิ้งแมชชีน  400 ล้านบาทให้ครอบคลุมจากเดิม 21 จังหวัดโดยขยายไปจังหวัดใกล้เคียง บนโลเคชั่นที่มีศักยภาพเติบโตสูง เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย แหล่งชุมชนต่างๆ  และอีก 200 ล้านบาท เป็น งบลงทุนในส่วนของ commercial investment

รวมทั้งการลงทุนเข้าซื้อกิจการธุรกิจตู้เวนดิ้งแมชชีนรายย่อยที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้หลังจากต้องประสบปัญหากับวิกฤติต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีการเจรจาราว 10 รายและจะทะยอยสรุปผลตลอดทั้งปี ”

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/business/467266